หลักการห้ามทำอันตราย

หลักการห้ามทำอันตรายตระหนักว่าโครงการทุกชนิดอาจทำให้เกิดสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง อ่านต่อไปเพื่อดูวิธีลดผลลัพธ์เชิงลบต่อชุมชนที่คุณพยายามจะช่วยเหลือ

คุณอาจเคยได้ยินหลักการ “ห้ามทำอันตราย” มันคือแนวคิดที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในองค์กรหลายแห่ง รวมถึงองค์การสหประชาชาติและมูลนิธิเอเชียด้วย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าโครงการต่าง ๆ จะไม่ทำอันตรายหรือสร้างความขัดแย้งโดยไม่ตั้งใจ   มาตรฐานการห้ามทำอันตราย ตระหนักว่าความช่วยเหลือหรือโครงการทุกชนิดอาจมีความเสี่ยงที่คาดไม่ถึง แม้ว่าจะมีเจตนาดีขนาดไหนก็ตาม แคมเปญบนโซเชียลมีเดียก็เช่นเดียวกัน โพสต์ที่มีเจตนาดีของคุณอาจส่งผลกระทบที่ไม่ได้ตั้งใจหรือแม้แต่ผลกระทบเชิงลบ   อะไรที่อาจผิดพลาดได้บ้าง

  • สารต่าง ๆ อาจถูกเข้าใจผิดไป เช่น การพูดถึงการสร้างสันติภาพและความเข้าใจทั่ว ๆ ไป อาจดูเหมือนเป็นการไม่ใส่ใจผู้ที่กำลังทุกข์ทรมานจากความรุนแรงที่เกิดขึ้น 
  • แคมเปญบนโซเชียลมีเดียอาจทำให้ผู้คนรู้สึกว่าพวกเขากำลังถูกผลักไสหรือถูกเพิกเฉย เช่น แคมเปญเพื่อขับเคลื่อนเยาวชนอาจทำให้ผู้สูงอายุในหมู่บ้านรู้สึกสั่นคลอน 
  • การเผยแพร่ข้อมูลที่ผิด การบิดเบือนข้อมูล หรือข่าวปลอม (ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ) อาจนำไปสู่การกระทำที่เป็นอันตรายได้ ในช่วงการระบาดของโรคโควิด บุคคลที่มีอิทธิพลพยายามเผยแพร่คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพที่ไม่ถูกต้องหรือขัดแย้งกับแนวทางจากมืออาชีพ ทำให้เกิดความสับสนและความไม่แน่นอน 
  • โพสต์ที่มุ่งเป้าไปที่คนบางกลุ่มหรืออาศัยการเหมารวมหรือสมมติฐานที่ไม่ถูกต้องก็อาจส่งผลที่เป็นอันตรายได้ ในบางประเทศ การเหมารวมเกี่ยวกับกลุ่มต่าง ๆ และสมมติฐานเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดคำพูดที่สร้างความเกลียดชัง การเลือกปฏิบัติ และความรุนแรงมากขึ้น 
  • ข้อความบนโซเชียลมีเดียอาจดึงดูดความคิดเห็นหรือโพสต์เชิงลบได้ แม้แต่โพสต์ที่มีเจตนาดีที่สุดก็อาจถูกกระหน่ำด้วยความคิดเห็นเชิงลบ และยิ่งโพสต์ที่มีประสิทธิภาพมาก ก็มักจะดึงดูดความคิดเห็นเชิงลบได้มาก 

คุณจะลดความเสี่ยงที่เกิดจากการโพสต์หรือเผยแพร่ข้อมูลออนไลน์ได้อย่างไร จงเข้าใจว่า:

  • มีผู้คนมากมายที่อาจได้อ่านโพสต์ของคุณ ไม่ใช่เฉพาะผู้รับสารที่คุณวางแผนไว้เท่านั้น และบางคนอาจรับรู้สิ่งต่าง ๆ ไม่เหมือนคุณ 
  • ถ้อยคำและภาพอาจมีพลังมาก และอาจส่งผลเชิงบวก (แคมเปญของคุณประสบความสำเร็จ!) หรือเชิงลบ (ผู้คนไม่พอใจและรู้สึกเจ็บปวด) อย่างใหญ่หลวง 
  • เมื่อคุณเผยแพร่ข้อมูลออนไลน์ ถ้อยคำและภาพอาจถูกผู้อื่นนำไปแชร์หรือใช้ในบริบทที่แตกต่างออกไป

แต่อย่าปล่อยให้เรื่องนี้หยุดคุณจากการใช้ประโยชน์อันทรงพลังของโซเชียลมีเดีย  ก่อนที่จะโพสต์ ให้ถามตัวเองว่า:

  • ข้อมูลที่คุณเผยแพร่นั้นถูกต้องตามข้อเท็จจริงและเป็นปัจจุบันหรือไม่

เคล็ดลับ

ค้นคว้าข้อมูล ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญถ้าทำได้ และอ่านวิธีตรวจสอบข้อมูลที่ผิดที่นี่  

  • คุณกำลังทำการเหมารวมแบบที่พบบ่อยหรือใช้สมมติฐานที่ไม่ถูกต้องหรือเปล่า ข้อนี้ทำได้ง่าย แต่มันอาจเป็นการเสริมกำแพง แทนที่จะทลายกำแพง 
  • ผู้รับสารเป้าหมายของคุณจะตอบสนองต่อสารนี้อย่างไร หากไม่มั่นใจ ลองทดสอบก่อน! 
  • ผู้อื่นที่อยู่นอกชุมชนหรือไม่ใช่ผู้รับสารเป้าหมายของคุณจะมองสารนี้อย่างไร (ขอย้ำอีกครั้ง ลองทดสอบสารของคุณกับคนนอกองค์กรก่อน!) 
  • โพสต์ของคุณอาจไม่ตรงกับบริบทหรือเปล่า คุณอาจมีประเด็นที่สมเหตุสมผล แต่มันเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และปัจจัยอื่น ๆ รอบตัวคุณอย่างไร 
  • คุณพร้อมจะติดตามดูแลการตอบโต้คอนเทนต์ของคุณหรือเปล่า

เราทุกคนทำผิดพลาดเป็นครั้งคราว ดังนั้นไม่ต้องกลัว …  เดินหน้าต่อไปและโพสต์อย่างมีความรับผิดชอบ!

พูดในแง่บวกไว้เสมอ!

ในโลกออนไลน์ บางครั้งผู้คนจะพูดสิ่งต่าง ๆ ที่ในชีวิตจริงจะไม่พูดต่อหน้าคนอื่น ทุกคนคงเคยเห็นโพสต์แสดงความโกรธซึ่งไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย นอกจากทำให้คนอื่นไม่พอใจ การหยาบคายหรือวิพากษ์วิจารณ์ใครบางคนอาจส่งผลตามมาในชีวิตจริง ดังนั้นทางที่ดีจึงควรพูดในเชิงบวกเอาไว้

เคล็ดลับสามประการในการจัดการกับผลตอบกลับเชิงลบ:

มุ่งเน้นข้อเท็จจริง เน้นเหตุผลของคุณและแสดงข้อมูล นั่นจะโน้มน้าวใจได้ดีกว่า และช่วยย้ำว่าการที่คุณไม่เห็นด้วยนั้นไม่ใช่เรื่องส่วนตัว  อย่าทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว นำเสนอแนวคิดของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ อย่าวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น รับฟังคนอื่น ผู้ที่เห็นต่างจากคุณก็สามารถให้ประโยชน์ต่อจุดยืนของคุณเช่นกัน

ดูเครื่องมือเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีจัดการเกรียนออนไลน์: ASHA Civility Digital Toolkit: Civility Scenarios

เข้าร่วมชุมชนของเราบน Facebook

เข้าร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในระดับกว้างของเราผ่านเพจ Facebook ของเรา

Go to Facebook